บริการออกแบบติดตั้งระบบ Network

แนะนำพร้อมให้คำปรึกษา จำหน่าย ติดตั้ง วางระบบและบำรุงรักษางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค Network

NTPN Cargo | บริการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน

บริการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน เพียงท่านแจ้งความต้องการของท่าน ว่าท่านต้องการหาสินค้าอะไร ประเภทใด ทางเราจะทำการหาสินค้าเหล่านั้น พร้อมคำนวณราคาค่าขนส่งและแจ้งให้ท่านทราบ

บริการทำเว็บไซต์ เว็บร้านค้าออนไลน์

บริการทำเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์พร้อมใช้งาน ด้วยระบบ CMS ซึ่งเป็นระบบเว็บไซต์ที่มีความคล่องตัวสูง ทั้งทางด้าน SEO

NTPN Webhosting | บริการเช่าเว็บโฮสติ้ง เร็วแรง

เราเป็นผู้ให้บริการ เว็บโฮสติ้ง Web Hosting จดชื่อเว็บไซต์ พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ และ เซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนบุคคล (VPS) ที่มีคุณภาพสูง มีความเสถียร ความน่าเชื่อถือและรวดเร็ว

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความผิดทางศุลกากรที่ต้องระวัง การนำเข้าส่งออกสินค้า


ความผิดทางศุลกากรและการลงโทษ

ntpn-cargo-system     
 การดำเนินพิธีการสำหรับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศจะต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายศุลกากรหรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในทุกๆ ขั้นตอนของการดำเนินการค้า ซึ่งรวมถึงการ นำเข้าและส่งออกซึ่ง สินค้าและบริการ ผ่านช่องทางการขนส่งทางเรือและทางอากาศยานทั้งเข้าและออก ประเทศไทย
กฎหมายศุลกากรมีอำนาจตามที่ตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้ รวมถึงอำนาจอันเนื่องมาจากหน่วยงานราชการ อื่นๆ เพื่อดำเนินการกับของที่นำเข้าหรือส่งออกบริเวณพรมแดนของประเทศ และจัดเก็บภาษีศุลกากร รวมถึงภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการบังคับใช้กฎหมายนั้นๆ
     ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบ การค้าระหว่างประเทศมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลสำแดงต่อ ศุลกากร แม้ว่าผู้นำเข้าหรือส่งออกนั้นใช้บริการตัวแทนออกของหรืออื่นกรณีเตรียม เอกสารให้แก่ตน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ความผิดพลาดโปรดตรวจสอบเอกสารด้วยตนเอง กรณีใช้บริการตัวแทนออกของก่อนยื่นต่อศุลกากร ผู้ใดไม่ ปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรกำหนดจะมีความผิดตามกฎหมายและจะได้รับโทษ ความผิดและโทษที่จะได้รับ จะยกเป็นตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
ความผิดทางศุลกากรที่มักพบได้เสมอๆ ในการการนำเข้าและการส่งออกสินค้า สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือimages
1. ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
3. ความผิดฐานสำแดงเท็จ
4. ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
5. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
การลักลอบหนีศุลกากรหมายถึง การนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีอากร หรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทย โดยของที่ลักลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของ ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากไม่นำ มาผ่านพิธีการศุลกากร ก็มีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิด ฐานลักลอบหนีศุลกากรสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่า ของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
การหลีกเลี่ยงภาษีอากรหมายถึง การนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเข้ามาหรือส่งของออกไปนอกประเทศไทยโดยนำมาผ่าน พิธีการ ศุลกากรโดยถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ต้องชำระค่าภาษีอากร หรือชำระในจำนวน ที่น้อยกว่าที่จะต้องชำระ เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลกากรเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้นผู้นำเข้าหรือส่ง ออกที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่ง ด้วย กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากร และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ แต่ในกรณีที่มีการนำ ของซุกซ่อนมากับของที่ สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรสำหรับของซุกซ่อน โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือ ปรับ 4 เท่า ของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด(ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน
ความผิดฐานสำแดงเท็จ
การสำแดงเท็จหมายถึง การสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสารและข้อเท็จจริง ในการนำเข้าและส่งออก การกระทำผิดฐานสำแดงเท็จมีหลายลักษณะ ดังนี้
1. การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็นความเท็จ หรือไม่บริบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใด ๆ ก็ตาม
2. การไม่ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายด้วยความสัตย์จริง
3. การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสาร อย่างอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกำหนดไว้
4. การปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นที่ปลอมแปลงแล้ว
5. การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว
6. การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานศุลกากรซึ่งพนักงาน ศุลกากร นั้น ๆ ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
การกระทำตามลักษณะดังกล่าวข้างต้นให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่า ผู้กระทำผิดมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาท เลินเล่อหรือ ไม่ ทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานสำแดงเท็จไว้สูงสุดคือ ปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
ของต้องห้ามคือ ของที่มีกฎหมายห้ามมิให้นำเข้าหรือส่งออก เช่น วัตถุลามก ของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ส่วนของต้องกำกัดคือ ของที่จะนำเข้า-ส่งออกได้ ต้องได้รับ อนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้นๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกของ กระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงสาธารณสุข ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการ วิเคราะห์หรือเอกสารกำกับ ยา เป็นต้น ของต้องกำกัดเหล่านี้หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายอื่น ๆ กำหนดแล้ว ก็สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษ ผู้กระทำผิดในการนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับ อนุญาตสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของ ราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
   การนำเข้าและส่งออก สินค้าแต่ละครั้งผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ ในกฎหมาย ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บ ภาษีอากรและการนำเข้า-ส่งออก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรมีหลายลักษณะ เช่นการขอยื่นปฏิบัติพิธีการ ศุลกากรแบบใบขนสินค้าขา เข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง
** การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนระเบียบที่กำหนดไว้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากร ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 1,000 บาท **
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881 
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th

ชิปปิ้ง คืออะไร


ชิปปิ้ง คืออะไร
    ntpn cargoตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า  จัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกนอก ราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออก ทำหน้าที่ด้านพิธีการเอกสารผ่านธนาคาร พิธีการศุลกากร และบริษัทเรือเดินทะเล หรือ บริษัทขนส่งทางเครื่องบินเพื่อนำสินค้านำเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศ รวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้านำไปเข้าตู้ และรถหัวลากตู้คอนเทนเนอร์ ไปถึงท่าเรือ หรือสถานที่ใดๆแล้วแต่ลูกค้าต้องการ


import      import-chaina
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881 
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า


เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า

  คำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้าดังนี้
พิธีการชำระอากรปกติ พิธีการวางประกัน พิธีการขนถ่ายข้างลำ พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภท และ ร้านค้าปลอดอากร ต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้

เอกสารที่ใช้ในการนำเข้าส่งออก
1. ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
3. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
4. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ Air Waybill)
5. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
6. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)
7. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีใช้สิทธิลดอัตราอากร
8. เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม, คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า, Material Safety Data Sheet, หรือแค็ดตาล็อค เป็นต้น

- พิธีการหลายเที่ยวเรือ  เอกสารประกอบที่ต้องใช้เพิ่มเติมได้แก่ พิมพ์เขียว (Blue Print), แบบแปลน แบบพิมพ์, หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเพื่อทำใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ

- พิธีการส่งเสริมการลงทุน : เอกสารประกอบที่ต้องใช้เพิ่มเติมได้แก่ หนังสืออนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อน อากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

- พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ : Export Processing Zone) : เอกสารประกอบ ที่ต้องใช้เพิ่มเติม ได้แก่

1. แบบ กนอ.02-1 กรณีสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบ
2. แบบ กนอ.02-1 และ กนอ.101 กรณีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้รวมทั้งส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าวที่จำ เป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้า หรือการค้าเพื่อส่งออก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881  
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th



Paperless คืออะไร

Paperless คืออะไร

ระบบ Paperless ของกรมศุลกากร

    ระบบ Paperless เป็นระบบที่กรมศุลกากรประกาศให้มีการใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 สิงหาคม 2549 เพื่อให้การดำเนินการพิธีการศุลกากรเป็นไปแบบไร้เอกสาร โดยเริ่มต้นใช้กับใบขนสินค้าขาออก และใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List) ส่วนใบขนขาเข้ายังคงให้เดินพิธีการศุลกากรด้วยระบบ EDI ตามเดิม

โดยโครงการ Paperless นี้นอกจากจะใช้สำหรับการทำใบขนขาออกและขาเข้าแล้ว ยังครอบคลุมการดำเนินการพิธีการอย่างอื่นด้วย อาทิ
• การส่งข้อมูลใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List) ซึ่ง upgrade มาจาก E-Container ที่เคยอยู่บนระบบ EDI
• การส่งข้อมูลรายงานเรือเข้า (E-Manifest)• การส่งข้อมูลการชำระภาษีขาเข้า (E-Payment

กลุ่มผู้ใช้งาน
• ผู้ส่งออก
• ตัวแทนส่งออก Shipping, Customs Broker
• ผู้ให้บริการคีย์ใบขน (Service Counter )

ประโยชน์จากการใช้ระบบ Paperless

• ลดเอกสารที่ใช้ในการเดินพิธีการศุลกากร เช่นใบแนบต่างๆ
• เตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่ระบบอื่นๆ ได้ง่าย เพราะระบบใบขน Paperless เป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรมอื่นๆ ที่จะต้องใช้ร่วมกัน
• ลดเวลาและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบ เพราะสามารถลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปยังกรมศุลกากรได้ หรือกรณีที่ตัวแทนไม่ต้องการจะลงลายเซ็น ก็สามารถส่งข้อมูลใบขนไปให้ผู้ส่งออกเป็นผู้ลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
• ข้อมูลมีความปลอดภัยมากกว่าระบบเดิม เนื่องจากก่อนส่งข้อมูลทุกครั้งจะต้องมีการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก่อน และข้อมูลจะถูกเข้ารหัส จะมีเพียงกรมศุลกากรที่เดียวเท่านั้นที่สามารถเปิดข้อมูลนั้นอ่านได้


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881
Email: ntpnsystem@gmail.com

ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ นำเข้า-ส่งออก


ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ นำเข้า ส่งออก

การดำเนินพิธีการ นำเข้า- ส่งออก

1. การโอนถ่าย และหรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : การสำแดงข้อมูลการนำเข้าและส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากร ให้บริษัทหรือตัวแทนออกของส่งข้อมูลเรือเข้า บัญชีรายการสินค้าและบัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบกลับไปยังบริษัทหรือตัวแทนนั้นๆ เมื่อสินค้ามาถึงท่าหรือสถานที่นำเข้า ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2. การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้นำเข้ายื่นมา ในขั้นนี้ระบบของกรมฯจะแยกใบขนสินค้าเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนฯให้ตรวจ และใบขนฯยกเว้นการตรวจ ผู้นำเข้าสามารถดำเนินการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้ทันที หากใบขนฯของตนเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจ

3. การชำระภาษีอากรขาเข้า : การชำระภาษีอากรและการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันสามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และชำระที่ธนาคาร

4. การตรวจและการปล่อยสินค้า : การตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้ายื่นใบขนฯ กับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อการปล่อยสินค้า ในขั้นนี้ ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจ หรือยกเว้นการตรวจ หากเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจจะใช้เวลาน้อยมาก หลังจากนั้นสถานะการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปทั้งที่ท่าเรือและที่ผู้นำเข้าหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการ ท่าเรือจะเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการส่งออก

1. การโอนถ่าย และหรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : ผู้ส่งออกหรือตัวแทน ส่งข้อมูลใบขนสินค้าโดยใช้ eb-XML ผ่านระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2. การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้ส่ง ออกยื่นมา ทันทีที่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรได้รับข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ข้อมูลจะได้รับจะถูกตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฎข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะออกเลขที่ใบขนสินค้าโดยเชื่อมต่อกับระบบ e-Payment (หากมีภาระภาษีอากร) ต่อจากนั้นระบบจะส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน

3. การชำระภาษีอากร : การชำระภาษีอากรหรือการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และชำระที่ธนาคาร

4. การตรวจและการปล่อยสินค้า : การตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ในขั้นนี้ freight forwarder บรรจุสินค้าในตู้สินค้าและส่งรายงานสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ข้อมูลจะได้รับจะถูกตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฎข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะสร้างเลขที่กำกับการขนย้ายสินค้า และส่งข้อความไปยัง freight forwarder หลังจากนั้น freight forwarder พิมพ์ใบกำกับการขนย้ายที่ระบุหมายเลข และเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังท่าที่ส่งออก ในขั้นนี้ ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าว ต้องผ่านการเปิดตรวจ (Red Line) หรือยกเว้นการตรวจ (Green Line) หากเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจจะใช้เวลาน้อยมาก ขณะที่สินค้าที่ต้องเปิดให้ตรวจจะถูกเคลื่อนย้ายเพื่อเตรียมให้เจ้าหน้าที่ ศุลกากรตรวจ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้า ได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881  
Email: ntpnsystem@gmail.com

ของที่กฎหมายกำหนดห้ามนำเข้าหรือส่งออก


สินค้าต้องห้ามและของต้องจำกัด
ของต้องห้าม คือ ของที่กฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด
- วัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆParcel1- สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ
- ยาเสพติดให้โทษ
- เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลงเหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต
- ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม
- สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
- สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
- ของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ตามพระราชบัญญัติห้ามนำของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2481
ของต้องกำกัด สินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ
- การนำเข้ายาจะต้องขอใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข
- การนำเข้าหรือส่งออกโบราณวัตถุหรือวัตถุของงานศิลปะไม่ว่าจะจดทะเบียนแล้วหรือไม่ก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร
- การนำเข้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน จะต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย ส่วนอาวุธชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องช็อตไฟฟ้า จำเป็นที่จะต้องแจ้งก่อนนำเข้า ซึ่งบางรายการอาจจำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า
- พระราชบัญญัติเครื่องสำอางได้กำหนดให้ผู้นำเข้าเครื่องสำอางควบคุม ทำการแจ้งชื่อและที่ตั้งของสำนักงาน สถานที่ผลิตหรือจัดเก็บเครื่องสำอาง รวมทั้งประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง และส่วนประกอบที่สำคัญ กับกระทรวงสาธารณสุข
- การนำเข้าสัตว์ป่า พืช ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมวิชาการเกษตร หรือกรมประมงเป็นกรณีๆ ไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th

Freight Forwarder คืออะไร


Freight Forwarder คืออะไร

     ธุรกิจบริการประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ เป็นธุระแทนผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ในเรื่องตั้งแต่การจองระวางเรือ การบรรจุสินค้า การขนส่ง การดำเนินพิธีการขาเข้า และขาออก การจัดการเกี่ยวกับเอกสารส่งออกและนำเข้า เป็นต้น บริการที่ Freight Forwarder สามารถให้บริการแก่ลูกค้า ได้แก่


Custom Broker  คือ ตัวแทนออกของให้กับผู้ส่งและผู้รับสินค้า
Forwarding Business คือ ตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
Transportation Provider คือ ผู้ขนส่งสินค้าทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถไฟ
Packing คือ การบริการรับจัดการการบรรจุสินค้า
Labour ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
Multimodal Transport ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
Logistics Service ให้บริการในการบริหารโลจิสติกส์ หรือการกระจายสินค้า
Business Consultant ให้บริการในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า

    โดยปกติ บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น จะต้องจัดการเรื่องของการขนส่งให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่ลูกค้าต้องการที่จะจัดการเองในบางขั้นตอนบริษัทอาจจะจัดการเองแต่เพียงผู้เดียวหรือว่าจ้างให้ผู้บริการรายอื่นก็ได้ ดังนั้นบริษัทจะต้องมีสายป่านยาว คือมีเครือข่ายที่กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อที่จะสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด อีกทั้งจะต้องมีเงินหมุนเวียนมากพอสมควร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้า ได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881  
Email: ntpnsystem@gmail.com