บริการออกแบบติดตั้งระบบ Network

แนะนำพร้อมให้คำปรึกษา จำหน่าย ติดตั้ง วางระบบและบำรุงรักษางานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบเครือข่ายเน็ตเวิร์ค Network

NTPN Cargo | บริการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน

บริการนำเข้าสินค้าจากประเทศจีน เพียงท่านแจ้งความต้องการของท่าน ว่าท่านต้องการหาสินค้าอะไร ประเภทใด ทางเราจะทำการหาสินค้าเหล่านั้น พร้อมคำนวณราคาค่าขนส่งและแจ้งให้ท่านทราบ

บริการทำเว็บไซต์ เว็บร้านค้าออนไลน์

บริการทำเว็บไซต์ ออกแบบเว็บไซต์พร้อมใช้งาน ด้วยระบบ CMS ซึ่งเป็นระบบเว็บไซต์ที่มีความคล่องตัวสูง ทั้งทางด้าน SEO

NTPN Webhosting | บริการเช่าเว็บโฮสติ้ง เร็วแรง

เราเป็นผู้ให้บริการ เว็บโฮสติ้ง Web Hosting จดชื่อเว็บไซต์ พื้นที่เก็บข้อมูลออนไลน์ และ เซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนบุคคล (VPS) ที่มีคุณภาพสูง มีความเสถียร ความน่าเชื่อถือและรวดเร็ว

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ความผิดทางศุลกากรที่ต้องระวัง การนำเข้าส่งออกสินค้า


ความผิดทางศุลกากรและการลงโทษ

ntpn-cargo-system     
 การดำเนินพิธีการสำหรับการนำเข้าและการส่งออกสินค้า ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศจะต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายศุลกากรหรือ กฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในทุกๆ ขั้นตอนของการดำเนินการค้า ซึ่งรวมถึงการ นำเข้าและส่งออกซึ่ง สินค้าและบริการ ผ่านช่องทางการขนส่งทางเรือและทางอากาศยานทั้งเข้าและออก ประเทศไทย
กฎหมายศุลกากรมีอำนาจตามที่ตัวบทกฎหมายบัญญัติไว้ รวมถึงอำนาจอันเนื่องมาจากหน่วยงานราชการ อื่นๆ เพื่อดำเนินการกับของที่นำเข้าหรือส่งออกบริเวณพรมแดนของประเทศ และจัดเก็บภาษีศุลกากร รวมถึงภาษีอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ในการบังคับใช้กฎหมายนั้นๆ
     ผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบ การค้าระหว่างประเทศมีหน้าที่รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลสำแดงต่อ ศุลกากร แม้ว่าผู้นำเข้าหรือส่งออกนั้นใช้บริการตัวแทนออกของหรืออื่นกรณีเตรียม เอกสารให้แก่ตน ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกัน ความผิดพลาดโปรดตรวจสอบเอกสารด้วยตนเอง กรณีใช้บริการตัวแทนออกของก่อนยื่นต่อศุลกากร ผู้ใดไม่ ปฏิบัติตามกฎหมายศุลกากรกำหนดจะมีความผิดตามกฎหมายและจะได้รับโทษ ความผิดและโทษที่จะได้รับ จะยกเป็นตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
ความผิดทางศุลกากรที่มักพบได้เสมอๆ ในการการนำเข้าและการส่งออกสินค้า สามารถจำแนกออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ ๆ คือimages
1. ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
2. ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
3. ความผิดฐานสำแดงเท็จ
4. ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
5. ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
ความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากร
การลักลอบหนีศุลกากรหมายถึง การนำของที่ยังไม่ได้เสียค่าภาษีอากร หรือของที่ควบคุมการนำเข้าหรือของที่ยังไม่ได้ ผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาหรือส่งออกไปนอกประเทศไทย โดยของที่ลักลอบหนีศุลกากรอาจเป็นของ ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ต้องเสียภาษีก็ได้ หรืออาจเป็นของต้องห้ามหรือของต้องกำกัดหรือไม่ก็ได้ หากไม่นำ มาผ่านพิธีการศุลกากร ก็มีความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิด ฐานลักลอบหนีศุลกากรสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่ลักลอบหนีศุลกากรและปรับเป็นเงิน 4 เท่า ของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
ความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากร
การหลีกเลี่ยงภาษีอากรหมายถึง การนำของที่ต้องชำระค่าภาษีอากรเข้ามาหรือส่งของออกไปนอกประเทศไทยโดยนำมาผ่าน พิธีการ ศุลกากรโดยถูกต้อง แต่ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยมีเจตนาเพื่อมิให้ต้องชำระค่าภาษีอากร หรือชำระในจำนวน ที่น้อยกว่าที่จะต้องชำระ เช่น สำแดงปริมาณ น้ำหนัก ราคา ชนิดสินค้า หรือพิกัดอัตราศุลกากรเป็นเท็จ เป็นต้น ดังนั้นผู้นำเข้าหรือส่ง ออกที่มีความผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรจึงมีความผิดฐานสำแดงเท็จอีกฐานหนึ่ง ด้วย กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานหลีกเลี่ยงภาษีอากรไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงภาษีอากร และปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ แต่ในกรณีที่มีการนำ ของซุกซ่อนมากับของที่ สำแดงเพื่อหลีกเลี่ยงภาษีอากรสำหรับของซุกซ่อน โทษสำหรับผู้กระทำผิดคือ ปรับ 4 เท่า ของอากรที่ขาดกับอีก 1 เท่าของภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิต และภาษีเพื่อมหาดไทยที่ขาด(ถ้ามี) และให้ยกของที่ซุกซ่อนมาให้เป็นของแผ่นดิน
ความผิดฐานสำแดงเท็จ
การสำแดงเท็จหมายถึง การสำแดงใด ๆ เกี่ยวกับการนำเข้าหรือส่งออกสินค้าไม่ตรงกับหลักฐานเอกสารและข้อเท็จจริง ในการนำเข้าและส่งออก การกระทำผิดฐานสำแดงเท็จมีหลายลักษณะ ดังนี้
1. การยื่นใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นต่อกรมศุลกากรเป็นความเท็จ หรือไม่บริบูรณ์หรือชักพาให้หลงผิดในรายการใด ๆ ก็ตาม
2. การไม่ตอบคำถามของเจ้าหน้าที่ศุลกากรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฏหมายด้วยความสัตย์จริง
3. การไม่ยอมหรือละเลย ไม่ทำ ไม่รักษาบันทึกเรื่องราว หรือทะเบียน หรือสมุดบัญชี หรือเอกสาร หรือตราสาร อย่างอื่น ๆ ซึ่งกฎหมายศุลกากรกำหนดไว้
4. การปลอมแปลงหรือใช้เอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นที่ปลอมแปลงแล้ว
5. การแก้ไขเอกสาร บันทึกเรื่องราว หรือตราสารอย่างอื่นภายหลังที่ทางราชการออกให้แล้ว
6. การปลอมดวงตรา ลายมือชื่อ ลายมือชื่อย่อ หรือเครื่องหมายอย่างอื่นของพนักงานศุลกากรซึ่งพนักงาน ศุลกากร นั้น ๆ ใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
การกระทำตามลักษณะดังกล่าวข้างต้นให้ถือเป็นความผิดโดยมิต้องคำนึงถึงว่า ผู้กระทำผิดมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาท เลินเล่อหรือ ไม่ ทั้งนี้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษผู้กระทำผิดฐานสำแดงเท็จไว้สูงสุดคือ ปรับเป็นเงินไม่เกิน 50,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน
ความผิดฐานนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้ามาในหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร
ของต้องห้ามคือ ของที่มีกฎหมายห้ามมิให้นำเข้าหรือส่งออก เช่น วัตถุลามก ของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ของที่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น ส่วนของต้องกำกัดคือ ของที่จะนำเข้า-ส่งออกได้ ต้องได้รับ อนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวข้องนั้นๆ เช่น ต้องมีใบอนุญาตนำเข้าหรือส่งออกของ กระทรวงอุตสาหกรรมหรือกระทรวงสาธารณสุข ต้องปฏิบัติตามประกาศอันเกี่ยวกับฉลากหรือใบรับรองการ วิเคราะห์หรือเอกสารกำกับ ยา เป็นต้น ของต้องกำกัดเหล่านี้หากปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กฎหมายอื่น ๆ กำหนดแล้ว ก็สามารถนำเข้าหรือส่งออกได้ กฎหมายศุลกากรได้กำหนดโทษ ผู้กระทำผิดในการนำของต้องห้ามต้องกำกัดเข้าประเทศไทยโดยไม่ได้รับ อนุญาตสำหรับความผิดครั้งหนึ่ง ๆ ไว้สูงสุดคือ ให้ริบของที่หลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อกำกัดและปรับเป็นเงิน 4 เท่าของของ ราคารวมค่าภาษีอากร หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งปรับและจำ
ความผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากร
   การนำเข้าและส่งออก สินค้าแต่ละครั้งผู้นำเข้าและส่งออกจะต้องปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ ในกฎหมาย ศุลกากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การบริหารและการควบคุมการจัดเก็บ ภาษีอากรและการนำเข้า-ส่งออก เป็นไปด้วยความเรียบร้อย การกระทำผิดฐานฝ่าฝืนพิธีการศุลกากรมีหลายลักษณะ เช่นการขอยื่นปฏิบัติพิธีการ ศุลกากรแบบใบขนสินค้าขา เข้าตามมาตรา 19 ทวิ ย้อนหลัง
** การกระทำความผิดฐานฝ่าฝืนระเบียบที่กำหนดไว้เกี่ยวกับพิธีการศุลกากร ผู้ฝ่าฝืนจะถูกปรับ 1,000 บาท **
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881 
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th

ชิปปิ้ง คืออะไร


ชิปปิ้ง คืออะไร
    ntpn cargoตัวแทนของผู้นำเข้าและผู้ส่งออกในการดำเนินพิธีการศุลกากรแทนผู้นำเข้าและผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของสินค้า  จัดทำใบขนสินค้า ยื่นใบขนสินค้าต่อเจ้าพนักงานศุลกากร ณ ด่านศุลกากรเพื่อให้มีการตรวจปล่อยสินค้า และส่งมอบสินค้าที่นำเข้าจากต่างประเทศให้แก่ผู้นำเข้าหรือส่งสินค้าออกนอก ราชอาณาจักรเพื่อส่งไปต่างประเทศให้แก่ผู้ส่งออก ทำหน้าที่ด้านพิธีการเอกสารผ่านธนาคาร พิธีการศุลกากร และบริษัทเรือเดินทะเล หรือ บริษัทขนส่งทางเครื่องบินเพื่อนำสินค้านำเข้าหรือส่งออกไปต่างประเทศ รวมถึงการจัดหาไปรับสินค้าจากโกดังลูกค้านำไปเข้าตู้ และรถหัวลากตู้คอนเทนเนอร์ ไปถึงท่าเรือ หรือสถานที่ใดๆแล้วแต่ลูกค้าต้องการ


import      import-chaina
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881 
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า


เอกสารที่ควรจัดเตรียมในการนำเข้าสินค้า

  คำแนะนำในการจัดเตรียมเอกสารและปฏิบัติตามขั้นตอนพิธีการศุลกากรในการนำเข้าสินค้าดังนี้
พิธีการชำระอากรปกติ พิธีการวางประกัน พิธีการขนถ่ายข้างลำ พิธีการคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภท และ ร้านค้าปลอดอากร ต้องมีเอกสารประกอบ ดังนี้

เอกสารที่ใช้ในการนำเข้าส่งออก
1. ต้นฉบับใบขนสินค้าขาเข้า (กศก. 99/1) พร้อมสำเนา 1 ฉบับ
2. บัญชีราคาสินค้า (Invoice)
3. บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List)
4. ใบตราส่งสินค้า (Bill of Lading หรือ Air Waybill)
5. ใบแจ้งยอดเบี้ยประกัน (Insurance Premium Invoice)
6. ใบอนุญาตหรือหนังสืออนุญาตสำหรับสินค้าควบคุมการนำเข้า (License)
7. ใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin) กรณีใช้สิทธิลดอัตราอากร
8. เอกสารอื่น ๆ เช่น เอกสารแสดงส่วนผสม, คุณลักษณะและการใช้งานของสินค้า, Material Safety Data Sheet, หรือแค็ดตาล็อค เป็นต้น

- พิธีการหลายเที่ยวเรือ  เอกสารประกอบที่ต้องใช้เพิ่มเติมได้แก่ พิมพ์เขียว (Blue Print), แบบแปลน แบบพิมพ์, หรือเอกสารประกอบอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาเพื่อทำใบขนสินค้าหลายเที่ยวเรือ

- พิธีการส่งเสริมการลงทุน : เอกสารประกอบที่ต้องใช้เพิ่มเติมได้แก่ หนังสืออนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อน อากรจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

- พิธีการนำของออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก (EPZ : Export Processing Zone) : เอกสารประกอบ ที่ต้องใช้เพิ่มเติม ได้แก่

1. แบบ กนอ.02-1 กรณีสินค้านำเข้าเป็นวัตถุดิบ
2. แบบ กนอ.02-1 และ กนอ.101 กรณีสินค้านำเข้าเป็นเครื่องจักร อุปกรณ์เครื่องมือและเครื่องใช้รวมทั้งส่วนประกอบของสินค้าดังกล่าวที่จำ เป็นต้องใช้ในการผลิตสินค้า หรือการค้าเพื่อส่งออก

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881  
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th



Paperless คืออะไร

Paperless คืออะไร

ระบบ Paperless ของกรมศุลกากร

    ระบบ Paperless เป็นระบบที่กรมศุลกากรประกาศให้มีการใช้อย่างเป็นทางการในวันที่ 1 สิงหาคม 2549 เพื่อให้การดำเนินการพิธีการศุลกากรเป็นไปแบบไร้เอกสาร โดยเริ่มต้นใช้กับใบขนสินค้าขาออก และใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List) ส่วนใบขนขาเข้ายังคงให้เดินพิธีการศุลกากรด้วยระบบ EDI ตามเดิม

โดยโครงการ Paperless นี้นอกจากจะใช้สำหรับการทำใบขนขาออกและขาเข้าแล้ว ยังครอบคลุมการดำเนินการพิธีการอย่างอื่นด้วย อาทิ
• การส่งข้อมูลใบเคลื่อนย้ายสินค้า (Goods Control List) ซึ่ง upgrade มาจาก E-Container ที่เคยอยู่บนระบบ EDI
• การส่งข้อมูลรายงานเรือเข้า (E-Manifest)• การส่งข้อมูลการชำระภาษีขาเข้า (E-Payment

กลุ่มผู้ใช้งาน
• ผู้ส่งออก
• ตัวแทนส่งออก Shipping, Customs Broker
• ผู้ให้บริการคีย์ใบขน (Service Counter )

ประโยชน์จากการใช้ระบบ Paperless

• ลดเอกสารที่ใช้ในการเดินพิธีการศุลกากร เช่นใบแนบต่างๆ
• เตรียมพร้อมในการก้าวเข้าสู่ระบบอื่นๆ ได้ง่าย เพราะระบบใบขน Paperless เป็นจุดเริ่มต้นของโปรแกรมอื่นๆ ที่จะต้องใช้ร่วมกัน
• ลดเวลาและอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบ เพราะสามารถลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์ไปยังกรมศุลกากรได้ หรือกรณีที่ตัวแทนไม่ต้องการจะลงลายเซ็น ก็สามารถส่งข้อมูลใบขนไปให้ผู้ส่งออกเป็นผู้ลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
• ข้อมูลมีความปลอดภัยมากกว่าระบบเดิม เนื่องจากก่อนส่งข้อมูลทุกครั้งจะต้องมีการลงลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ก่อน และข้อมูลจะถูกเข้ารหัส จะมีเพียงกรมศุลกากรที่เดียวเท่านั้นที่สามารถเปิดข้อมูลนั้นอ่านได้


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881
Email: ntpnsystem@gmail.com

ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ นำเข้า-ส่งออก


ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการ นำเข้า ส่งออก

การดำเนินพิธีการ นำเข้า- ส่งออก

1. การโอนถ่าย และหรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : การสำแดงข้อมูลการนำเข้าและส่งข้อมูลไปยังกรมศุลกากร ให้บริษัทหรือตัวแทนออกของส่งข้อมูลเรือเข้า บัญชีรายการสินค้าและบัญชีรายละเอียดการบรรจุหีบห่อสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร หากไม่พบข้อผิดพลาด ระบบคอมพิวเตอร์จะตอบกลับไปยังบริษัทหรือตัวแทนนั้นๆ เมื่อสินค้ามาถึงท่าหรือสถานที่นำเข้า ผู้นำเข้าหรือตัวแทนต้องส่งข้อมูลใบขนสินค้าไปยังระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2. การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้นำเข้ายื่นมา ในขั้นนี้ระบบของกรมฯจะแยกใบขนสินค้าเป็น 2 ประเภทคือ ใบขนฯให้ตรวจ และใบขนฯยกเว้นการตรวจ ผู้นำเข้าสามารถดำเนินการชำระภาษีอากรที่เกี่ยวข้องได้ทันที หากใบขนฯของตนเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจ

3. การชำระภาษีอากรขาเข้า : การชำระภาษีอากรและการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ในปัจจุบันสามารถชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ และชำระที่ธนาคาร

4. การตรวจและการปล่อยสินค้า : การตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ผู้นำเข้ายื่นใบขนฯ กับใบเสร็จรับเงินที่คลังสินค้าเพื่อการปล่อยสินค้า ในขั้นนี้ ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าวต้องผ่านการเปิดตรวจ หรือยกเว้นการตรวจ หากเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจจะใช้เวลาน้อยมาก หลังจากนั้นสถานะการปล่อยสินค้าจะส่งผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ไปทั้งที่ท่าเรือและที่ผู้นำเข้าหรือตัวแทน อย่างไรก็ตามในกรณีที่สินค้าต้องผ่านการตรวจสอบพิธีการ ท่าเรือจะเคลื่อนย้ายสินค้าเพื่อการตรวจสอบโดยเจ้าหน้าที่ศุลกากรก่อนการปล่อยสินค้าออกจากอารักขาศุลกากร

ขั้นตอนปฏิบัติพิธีการส่งออก

1. การโอนถ่าย และหรือ การยื่นข้อมูลใบขนสินค้า : ผู้ส่งออกหรือตัวแทน ส่งข้อมูลใบขนสินค้าโดยใช้ eb-XML ผ่านระบบ VAN หรืออินเตอร์เน็ตเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร

2. การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูล : การตรวจสอบพิสูจน์การสำแดงข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งหมดที่ผู้ส่ง ออกยื่นมา ทันทีที่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากรได้รับข้อมูลใบขนสินค้าขาออก ข้อมูลจะได้รับจะถูกตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฎข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะออกเลขที่ใบขนสินค้าโดยเชื่อมต่อกับระบบ e-Payment (หากมีภาระภาษีอากร) ต่อจากนั้นระบบจะส่งข้อความตอบกลับไปยังผู้ส่งออกหรือตัวแทน

3. การชำระภาษีอากร : การชำระภาษีอากรหรือการวางประกันที่เกี่ยวข้อง ปัจจุบันชำระได้ 3 วิธี: ชำระที่กรมศุลกากร ชำระผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) และชำระที่ธนาคาร

4. การตรวจและการปล่อยสินค้า : การตรวจและปล่อยสินค้าจากอารักขาของศุลกากร ในขั้นนี้ freight forwarder บรรจุสินค้าในตู้สินค้าและส่งรายงานสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของกรมศุลกากร ข้อมูลจะได้รับจะถูกตรวจสอบ ในกรณีที่ข้อมูลที่ตรวจสอบแล้วไม่ปรากฎข้อผิดพลาดใดๆ ระบบจะสร้างเลขที่กำกับการขนย้ายสินค้า และส่งข้อความไปยัง freight forwarder หลังจากนั้น freight forwarder พิมพ์ใบกำกับการขนย้ายที่ระบุหมายเลข และเคลื่อนย้ายสินค้าไปยังท่าที่ส่งออก ในขั้นนี้ ข้อมูลของสินค้าถูกตรวจสอบความถูกต้องโดยละเอียดเพื่อระบุว่าสินค้าดังกล่าว ต้องผ่านการเปิดตรวจ (Red Line) หรือยกเว้นการตรวจ (Green Line) หากเป็นใบขนฯยกเว้นการตรวจจะใช้เวลาน้อยมาก ขณะที่สินค้าที่ต้องเปิดให้ตรวจจะถูกเคลื่อนย้ายเพื่อเตรียมให้เจ้าหน้าที่ ศุลกากรตรวจ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้า ได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881  
Email: ntpnsystem@gmail.com

ของที่กฎหมายกำหนดห้ามนำเข้าหรือส่งออก


สินค้าต้องห้ามและของต้องจำกัด
ของต้องห้าม คือ ของที่กฎหมายกำหนดห้ามนำเข้ามาหรือส่งออกไปนอกราชอาณาจักรโดยเด็ดขาด
- วัตถุลามก ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบหนังสือ ภาพเขียน ภาพพิมพ์ ภาพระบายสี สิ่งที่พิมพ์ขึ้น รูปภาพ ภาพโฆษณา เครื่องหมาย รูปถ่าย และภาพยนตร์ลามกหรือวัตถุลามกอื่น ๆParcel1- สินค้าที่มีตราหรือลวดลายเป็นรูปธงชาติ
- ยาเสพติดให้โทษ
- เงินตรา พันธบัตร ใบสำคัญรับดอกเบี้ยพันธบัตรอันเป็นของปลอมหรือแปลงเหรียญกษาปณ์ที่ทำให้น้ำหนักลดลงโดยทุจริต
- ดวงตราแผ่นดิน รอยตราแผ่นดินหรือพระปรมาภิไธย ดวงตราหรือรอยตราของทางราชการอันเป็นของปลอม
- สินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ เช่น แถบบันทึกเสียง (เทปเพลง) แผ่นบันทึกเสียง (คอมแพคดิสก์) แถบบันทึกภาพ (วีดีโอเทป) โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หนังสือ หรือสินค้าอื่นใดที่ทำซ้ำหรือดัดแปลงงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
- สินค้าปลอมแปลงหรือเลียนแบบเครื่องหมายการค้า
- ของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จ ตามพระราชบัญญัติห้ามนำของที่มีการแสดงถิ่นกำเนิดเป็นเท็จเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ. 2481
ของต้องกำกัด สินค้าที่มีกฎหมายกำหนดว่าหากจะมีการนำเข้า-ส่งออกหรือผ่านราชอาณาจักรจะต้องได้รับอนุญาตหรือปฏิบัติให้ครบถ้วนตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายนั้น ๆ
- การนำเข้ายาจะต้องขอใบอนุญาตจากองค์การอาหารและยากระทรวงสาธารณสุข
- การนำเข้าหรือส่งออกโบราณวัตถุหรือวัตถุของงานศิลปะไม่ว่าจะจดทะเบียนแล้วหรือไม่ก็ตาม จะต้องได้รับอนุญาตจากกรมศิลปากร
- การนำเข้าอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน จะต้องได้รับการอนุญาตจากกระทรวงมหาดไทย ส่วนอาวุธชนิดอื่นๆ เช่น เครื่องช็อตไฟฟ้า จำเป็นที่จะต้องแจ้งก่อนนำเข้า ซึ่งบางรายการอาจจำเป็นต้องขอใบอนุญาตก่อนนำเข้า
- พระราชบัญญัติเครื่องสำอางได้กำหนดให้ผู้นำเข้าเครื่องสำอางควบคุม ทำการแจ้งชื่อและที่ตั้งของสำนักงาน สถานที่ผลิตหรือจัดเก็บเครื่องสำอาง รวมทั้งประเภทหรือชนิดของเครื่องสำอาง และส่วนประกอบที่สำคัญ กับกระทรวงสาธารณสุข
- การนำเข้าสัตว์ป่า พืช ปลาและสัตว์น้ำอื่นๆ ต้องได้รับอนุญาตจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช หรือกรมวิชาการเกษตร หรือกรมประมงเป็นกรณีๆ ไป
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th

Freight Forwarder คืออะไร


Freight Forwarder คืออะไร

     ธุรกิจบริการประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่ เป็นธุระแทนผู้ส่งออกและผู้นำเข้า ในเรื่องตั้งแต่การจองระวางเรือ การบรรจุสินค้า การขนส่ง การดำเนินพิธีการขาเข้า และขาออก การจัดการเกี่ยวกับเอกสารส่งออกและนำเข้า เป็นต้น บริการที่ Freight Forwarder สามารถให้บริการแก่ลูกค้า ได้แก่


Custom Broker  คือ ตัวแทนออกของให้กับผู้ส่งและผู้รับสินค้า
Forwarding Business คือ ตัวแทนในการรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศของผู้ส่งออกและผู้นำเข้า
Transportation Provider คือ ผู้ขนส่งสินค้าทั้งทางเครื่องบิน ทางเรือ และทางรถไฟ
Packing คือ การบริการรับจัดการการบรรจุสินค้า
Labour ให้บริการทางด้านแรงงาน คนงาน ในการบรรจุสินค้าเข้าตู้คอนเทนเนอร์
Multimodal Transport ให้บริการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ
Logistics Service ให้บริการในการบริหารโลจิสติกส์ หรือการกระจายสินค้า
Business Consultant ให้บริการในการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการส่งออกและนำเข้า

    โดยปกติ บริษัทรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศนั้น จะต้องจัดการเรื่องของการขนส่งให้แก่ลูกค้าตั้งแต่ต้นทางไปจนถึงปลายทาง แต่ก็มีข้อยกเว้นในกรณีที่ลูกค้าต้องการที่จะจัดการเองในบางขั้นตอนบริษัทอาจจะจัดการเองแต่เพียงผู้เดียวหรือว่าจ้างให้ผู้บริการรายอื่นก็ได้ ดังนั้นบริษัทจะต้องมีสายป่านยาว คือมีเครือข่ายที่กว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อที่จะสามารถรองรับความต้องการของลูกค้าได้มากที่สุด อีกทั้งจะต้องมีเงินหมุนเวียนมากพอสมควร

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้า ได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881  
Email: ntpnsystem@gmail.com

เลือกบริการ นำเข้าจีน อย่างไร

เลือกบริการ นำเข้าจีน อย่างไร


  
     สินค้าจากจีน มีทั้งสินค้าดีมีคุณภาพ และสินค้าถูกๆ ด้อยคุณภาพมากๆ เหมือนนำเข้าขยะมาถมประเทศกันเลยทีเดียว อย่านำเข้าสินค้าอะไรโดยเห็นแค่เพียงโฆษณา รูปภาพ ต้องศึกษาให้ดี ว่าคุณติดต่อกับผู้ค้าที่มีตัวตน มีความน่าเชื่อถือ มีปัญหาอะไรสามารถติดต่อได้ และสินค้าที่จะได้จะเป็นไปตามสเป๊คที่ต้องการ 

    เพราะคุณอาจจะได้สินค้าขยะ ด้อยคุณภาพ ไม่เป็นไปตามสปค ที่สำคัญผู้ที่คุณติดต่อต่อ ไม่ใช่ผู้ผลิต และเป็นแค่เพียงคนที่หาสินค้าถูกๆมาเสนอขายตามเวป ไม่ได้การันตีหรือรับผิดชอบใดๆเวลามีปัญหา คนจีนจำนวนมาก ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้า แต่สามารถมีแคตตาล็อกสินค้าอยู่ในมือ เสนอขายสินค้าโดยไปเอาจากแหล่งโน้นบ้าง แหล่งนี้บ้างมาเสนอขาย มีปัญหาอะไรก็ชิ่งหนีโดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย
การนำเข้าสินค้าจากจีนส่วนมากนำเข้า ทางเรือและทางเครื่องบิน เอกสารที่ต้องใช้ก็จะมี ดังนี้
1. Invoice
2. Packing List
3. Bill of Landing/ Airway Bill
4. Product Catalog
5. Additional certified document
 ปัญหาส่วนใหญ่ของสินค้าที่นำเข้าจากจีนคือInvoiceที่สำแดงราคาต่ำมากจนผิดสังเกตค่ะถ้าอยากจะนำเข้าสินค้าจากจีนมาขายแบบมีคุณภาพ จริงๆ ให้ลงทุนไปเดินงานแสดงสินค้าใหญ่ๆในจีน เช่น กวางโจวแฟร์ มีปีละ2 ครั้ง งานใหญ่มาก มีสินค้าทุกชนิด ได้สินค้าที่น่าสนใจแล้ว ให้นัดเข้าชมโรงงานด้วย ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ แล้วค่อยสั่งซื้อสินค้า ส่วนขั้นตอนการสั่งซื้อไม่ยากอะไรสินค้าจากจีน มีทั้งสินค้าดีมีคุณภาพ และสินค้าถูกๆ ด้อยคุณภาพมากๆ เหมือนนำเข้าขยะมาถมประเทศกันเลยทีเดียว อย่านำเข้าสินค้าอะไรโดยเห็นแค่เพียงโฆษณา รูปภาพ ต้องศึกษาให้ดี ว่าคุณติดต่อกับผู้ค้าที่มีตัวตน มีความน่าเชื่อถือ มีปัญหาอะไรสามารถติดต่อได้ และสินค้าที่จะได้จะเป็นไปตามสเป๊คที่ต้องการ
   เพราะคุณอาจจะได้สินค้าด้อยคุณภาพ ไม่เป็นไปตามสปค ที่สำคัญผู้ที่คุณติดต่อ ไม่ใช่ผู้ผลิต และเป็นแค่เพียงคนที่หาสินค้าถูกๆมาเสนอขายตามเวป ไม่ได้การันตีหรือรับผิดชอบใดๆเวลามีปัญหา คนจีนจำนวนมาก ไม่ได้เป็นเจ้าของกิจการ ไม่ได้เป็นเจ้าของสินค้า แต่สามารถมีแคตตาล็อกสินค้าอยู่ในมือ เสนอขายสินค้าโดยไปเอาจากแหล่งโน้นบ้าง แหล่งนี้บ้างมาเสนอขาย มีปัญหาอะไรก็ชิ่งหนีโดยไม่ต้องรับผิดชอบอะไรเลย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการ นำเข้า-ส่งออก สินค้าได้ที่
บริษัท เอ็นทีพีเอ็น ซิสเท็ม จำกัด
Tel: 02-816-9881
Email: ntpnsystem@gmail.com
www.ntpn.co.th

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

เรื่องน่ารู้ของโดเมนเนม(Domain name)

          อาจจะมีหลายๆคนสงสัยว่า โดเมนเนม คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไร กับเว็บไซต์ทางโลกอินเทอร์เน็ต ซึ่งในวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยกัน
           โดเมนเนม(Domain name) หมายถึงอะไร ถ้าหากจะให้ความหมายในความทั่วไปของโดเมนเนม โดเมนเนมก็อาจจะหมายถึง ชื่อของเว็บไซต์ หรือของบล็อกต่างๆ ที่ตั้งขึ้นมาให้สามารถเข้าถึงผ่านทางบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ผู้ดูแลระบบ ถ้าหากโดเมนเนมมีปัญหาสามารถแก้ไขได้โดยทันทีโดยไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดเมนเนมที่ไม่ซ้ำกัน เพื่อป้องกันการสับสนที่จะเกิดขึ้น
           โดเมนเนม ที่ใช้ในการจดทะเบียนในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
           1.โดเมนเนม 2 ระดับ นั่นคือ ประเภทของโดเมน
               รูปแบบของโดเมนประเภทนี้ จะประกอบด้วย www.ชื่อของโดเมน.ประเภทของโดเมน ซึ่งประเภทของโดเมนนั่น หมายถึงคำย่อขององค์กรแต่ละองค์กรนั่นๆ ตัวอย่างเช่น www.youtube.com เป็นต้น คำย่อขององค์กรต่างๆที่เราสามารถพบกันได้บ่อยครั้งก็ เช่น
               .com คือ องค์กรพาณิชย์ หรือ เรียกว่าเป็นบริษัทก็ได้ ซื่ง.com นิยมใช้มากในปัจจุบัน
               .org เป็นคำย่อขององค์กรเอกชนที่ไม่แสวงผลกำไร
               .net เป็นคำย่อขององค์กรที่เป็นจุดเชื่อมต่อของเครือข่าย หรือที่เรียกกว่า เกตเวย์
               .edu เป็นของสถาบันการศึกษาต่างๆ
               .gov เป็นขององค์กรของทางรัฐบาล
               .mil คือ องค์กรทางทหาร

           2.โดเมนเนม 3 ระดับ นั่นคือ ประเภทของโดเมน . ประเทศ
               รูปแบบของโดเมนประเภทนี้ จะประกอบด้วย www.ชื่อโดเมน.ประเภทของโดเมน.ประเทศ ซึ่งประเทศของโดเมนนั่น จะหมายถึง ประเทศองค์กรตั้งอยู่ ตัวอย่างเช่น www.ntpn.co.th เป็นต้น ประเภทของคำที่พบบ่อยขององค์กรต่างๆ เช่น
               .co เป็นคำย่อของ องค์กรพาณิชย์ หรือ บริษัท
               .ac เป็นคำย่อของ สถาบันการศึกษา
               .go เป็นองค์กรของรัฐบาล
               .or เป็นองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงหาผลกำไร
               .net เป็นองค์กรที่ให้บริการเครือข่าย
               ตัวอย่าง อักษรย่อของประเทศต่างๆที่ตั้งขององค์กร เช่น
               .th  คือ ประเทศไทย
               .uk คือ ประเทศอังกฤษ
               .jp คือ ประเทศญี่ปุ่น
               .au คือ ประเทศออสเตรเลีย
               .cu คือ ประเทศจีน   เป็นต้น

              หลักการในการตั้งชื่อโดเมนเนม
               1.ความยาวของการตั้งชื่อ Domain ตั้งได้ไม่เกิน 63 อักขระ
               2.ชื่อสามารถตั้งเป็นอักษรภาษาอังกฤษผสมกับตัวเลขได้ และใช้เครื่องหมายขีด (-) ได้
               3.ตัวอักษรภาษาอังกฤษสามารถใช้เป็นตัวเล็กหรือตัวใหญ่ก็ได้
               4.ห้ามใช้เครื่องหมายขีด (-) นำหน้าชื่อ Domain และห้ามเว้นวรรคในชื่อโดเมน
             
              ถือได้ว่าโดเมนเนม มีความสำคัญอย่างยิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเลยก็ว่าได้สำหรับการมีเว็บไซต์ โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสารการโฆษณาต่างๆบนอินเทอร์เน็ต ถ้าหามีชื่อที่เฉพาะเจาะจงจะทำให้ได้รับความสนใจที่มากขึ้นและเป็นที่จดจำได้ง่ายของผู้ที่เข้าชมเว็บไซต์ ยังสามารถรวมไปถึงกลุ่มเป้าหมายต่างที่ Search Engine ตามที่ต่างๆชื่อดัง เช่น Google Yahoo เป็นต้น ก็จะสามารถเข้ามาแวะชม index กับเว็บต่างๆในหน้าเว็บไซต์ของเราได้
              เมื่อเราได้ทำการตั้งชื่อและจดทะเบียนโดเมนเนมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ขาดไม่ได้คือ โฮสติ้ง(Hosting) ซึ่งในโอกาสหน้าเราจะมาทำความเข้าใจกับ โฮสติ้งกัน